วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พระคาถาชินบัญชร


พระ คาถาชินบัญชร
สมเด็จพระ พุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี )


กำเนิดพระคาถาชินบัญชร

กำเนิดพระคาถาชิน บัญชร เรียบเรียงโดยคุณปัญญานี้

ได้คัดลอกมาจากหนังสือ พระคาถาชินบัญชร

เมื่อ ครั้งนั้น สมเด็จ (โต) ได้มีโอกาสเดิทางไปยัง จังหวัดกำแพงเพชร ท่านได้เดินทางไปที่วัดเก่าแห่งหนึ่งซึ่งมีกรุโบราณ ที่นั่นท่านได้พบคัมภีร์โบราณผูกหนึ่งฝังอยู่ในเจดีย์หัก สมเด็จจึงนำคัมภีร์ผูกนั้นมาเก็บไว้ที่กุฏิ ขณะนั้นสมเด็จ (โต) ท่านมีจิตดำริที่จะสร้างพระเครื่องเพื่อมอบให้แก่เจ้าปิยะ (ร.5) หรือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นสมบัติในยุคสมัยครองราชย์ ระหว่างครุ่นคิดสมเด็จ (โต) ท่านก็ได้จำวัดหลับไป

ใน คืนนั้นราวๆประมาณตี 3 สมเด็จ (โต) ได้นิมิตว่าท่านได้ตื่นขึ้น เห็นชายหนุ่มรูปงามรูปหนึ่งมายืนอยู่ที่หัวนอนในชุดนุ่งขาวห่มขาว มีรูปลักษณ์งดงามหาที่ติมิได้เลย สมเด็จ(โต) ท่านก็มองขึ้นตามกำหนดของจิต ทราบว่าหนุ่มรูปงามนี้คงจะไม่ใช่มนุษย์อย่างแน่นอน

สมเด็จ (โต) จึงถามว่า "ท่านผู้เจริญ การที่อาตมาได้มีโอกาสชมท่านนับว่าเป็นขวัญตาเหลือเกิน ท่านมาในสถานที่แห่งนี้ มีสิ่งใดที่อาตมาปฏิบัติผิดพลาดในหลักพระพุทธศาสนาเล่า ? ขอให้ท่านจงประสาทประทานการสอนให้อาตมาแจ่มแจ้งในพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าเถิด"

ชายหนุ่มผู้ นั้นจึงกล่าวขึ้นด้วยคำพูดที่เย็นกังวาน "ท่านโต วิธีการที่ท่านดำเนินงานอยู่นี้คล้ายกับองค์สมณะโคดมอยู่ แต่การที่ท่านคิดจะสร้างพระให้เป็นสิ่งที่ระลึกของมนุษย์นั้น สร้างแล้วสิ่งนั้นจะต้องดี ท่านโตเชื่อในเรื่องวิญญาณ เพราะฉะนั้นควรจะปฏิบัติตามกฏของโลกวิญญาณ คือวิธีการตั้งให้ถูกหลักการในการปลุกเสก"

สมเด็จ(โต) ท่านจึงกล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ ขรัวโตนี้รับฟังความคิดเห็นของทุกคนหากแม้นท่านโปรดข้านี้ ขอได้โปรดบอกมาเถิด จะด่าว่าตักเตือนเราก็ไม่ว่า"

หนุ่มรูปงามผู้มี ความสงบแลดูเป็นที่เลื่อมใส จึงได้แนะวิธีการต่างๆในเรื่องทิศทางว่าทิศใดเป็นทิศมงคล ในการวาง เทียน ธูป ดอกไม้ เทียนชัย ให้ตรงตามหลักของกฏระเบียบแห่งโลกวิญญาณ เรียกว่าเทวบัญญัติ หรือพรหมบัญญัติ
ระหว่างนั้นสมเด็จ (โต) ยังคุมสติสัมปชัญญะอยู่ทุกเมื่อ จึงได้ถามหนุ่มรูปงามนั้นว่า


"ท่านผู้รูปงามท่านนี้มีนามว่ากระไรหรอ?"

"หม่อมฉันนี้คือลูกศิษย์ องค์พระโมคคัลลานะ หม่อมฉันสำเร็จเป็นอรหันต์เมื่ออายุ 7 ขวบ แต่ด้วยทิ้งสังขารก่อนอายุขัยจึงมิได้สู่แดนอรหันต์ คงยังอยู่ในแดนพรหมโลก เพราะหม่อมฉันไม่อยากติดสตรีมิชอบสตรี เพราะสตรีทำลายพรหมจารีย์ของหม่อมฉัน หม่อมฉันจึงทิ้งสังขารก่อนอายุขัย ทางโลกวิญญาณถือว่าสิ้นก่อนอายุขัย จึงอยู่รูปพรหม ถ้าท่านโตต้องการปรึกษาจากหม่อมฉัน ก็จงระลึกถึงชินนะบัญจะระ" มานพหนุ่มรูปงามกล่าวต่อสมเด็จ (โต) อย่างสำรวม

ต่อ มาไม่ว่าสมเด็จ (โต) จะทำงานสิ่งใด

จึงมักระลึกถึงท่านท้าวมหาพรหมชินนะบัญจะระทีไร ท่านก็ปรากฎร่างทันที

ช่วยเหลือสมเด็จ (โต) ประกอบพิธีต่างๆ


จึงทำให้เครื่องรางของขลังของสมเด็จ (โต) มีความศักดิ์สิทธิ์มาก

สมเด็จ (โต) ท่านปลุกเสกพระสมเด็จรุ่นสุดท้าย 84,000 องค์ เรียกว่าสมเด็จอิทธิเจ ท่านได้แปลคาถาจากคัมภีร์ ซึ่งท่านพบจากกรุวัดที่กำแพงเพชร ซึ่งคัมภีร์นั้นเขียนด้วยภาษาสิงหลได้ความบ้าง มิได้ความบ้าง จับใจความได้ว่าเป็นชื่ออรหันต์แปดสิบองค์ จึงได้ตัดต่อแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อง่ายต่อการสวด จึงแปลใหม่ได้ความว่า "คาถาชินบัญชร" ซึ่งตรงกับชื่อท่านท้าวมหาพรหมชินนะบัญจะระ สมเด็จ (โต) ท่านจึงถือคาถาบทนี้เป็นการเทิดทูนท่านท้าวมหาพรหมชินนะบัญจะระ ที่ท่านได้ช่วยเหลือตลอดมา และพระคาถาบทนี้เป็นบทสวดในการนั่งปลุกเสกพระอิทธิเจรุ่นสุดท้าย ซึ่งสมเด็จ (โต) ท่านนั่งปลุกเสกอยู่เพียงผู้เดียว

ขอขอบคุณภาพและข้อมูล



ผู้ใดสวดภาวนาพระคาถาชินบัญชรนี้เป็นประจำสม่ำเสมอจะทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัวศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยมขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่างๆ คาถาชินบัญชร ดีนักแล



ในการสวด คาถาชินบัญชร เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งๆ ขึ้น ก่อนจะเจริญภาวนา
จึงขอให้ตั้งนะโม 3 จบ และน้อมจิตระลึกถึงคุณพระคุณสมเด็จโต ด้วยคำบูชาดังนี้

     ปุตตะกาโมละเภปุตตัง
     อัตถิกาเยกายะ ญายะ
     อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน
     มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต
ธะนะกาโมละเภธะนัง
เทวานังปิยะตังสุตตะวา
ท้าวเวสสุวัณโณ
นะโมพุทธายะ


๑.
ชะยา สะนา กะตา พุทธา
จะตุ สัจจา สะภัง ระสัง
เชตะวา มารัง สะวา หะนัง
เย ปิวิงสุ นะรา สะภา
พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคือ อริยสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ 
๒.
ตัณหังกะราทะโย พุทธา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง
อัฏฐะวีสะติ นา ยะกา
มัตถะเก เต มุนิส สะรา
มี ๒๘ พระองค์ คือ พระผู้ทรงนามว่า ตันหังกร เป็นอาทิ พระพุทธเจ้าจอมมุนีทั้งหมดนั้น
๓.
สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง
พุทโธ ธัมโม ทะวิโล จะเน
อุเร สัพพะคุณา กะโร
ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่บนศรีษะ พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก
๔.
หะทะเย เม อะนุรุทโธ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภา คัสสะมิง
สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
โมคคัลลาโน จะวา มะเก
พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณฑัญญะอยู่เบื้องหลัง 
๕.
ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง
กัสสะโป จะมะหา นาโม
อาสุง อานันทะราหุโล
อุภาสุง วามะโส ตะเก
พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย 
๖.
เกสะโต ปิฏฐิภา คัสสะมิง
นิสินโน สิริสัม ปันโน
สุริโย วะ ปะภัง กะโร
โสภีโต มุนิปุง คะโว
มุนีผู้ประเสริฐ คือ พระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสง อยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง
๗.
กุมาระกัสสะโป เถโร
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง
มะเหสี จิตตะวา ทะโก
ปะติฏฐาสิ คุณา กะโร
พระเถระกุมาระกัสสปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากประจำ 
๘.
ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ
เถรา ปัญจะอิเม ชาตา
อุปาลี นันทะสี วะลี
นะลาเต ติละกา มะมะ
พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวลี พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก
๙.
เสสา สีติ มะหาเถรา
เอเตสีติ มะหาเถรา
ชะลันตา สีละเต เชนะ
วิชิตา ชินะสา วะกา
ชิตะวันโต ชิโน ระสา
อังคะมังเค สุสัณ ฐิตา
ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือ ผู้มีชัยและเป็นพระโอรสเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วนรุ่งโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่ 
๑๐.
ระตะนัง ปุระโต อาสิ
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ
ทักขิเณ เมตตะสุต ตะกัง
วาเม อังคุลิมา ละกัง
พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้า พระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคสูตรอยู่เบื้องหลัง 
๑๑.
ขันธะโม ระปะริตัญ จะ
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ
อาฏานาฏิยะสุต ตะกัง
เสสา ปาการะ สัณฐิตา
พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตรเป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ
๑๒.
ชินานา นาวะระสัง ยุตตา
วาตะปิตตาทิสัญ ชาตา
สัตตัปปาการะลัง กะตา
พาหิรัช ฌัตตุปัท ทะวา
อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลาย นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง คือ สัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น
๑๓.
อะเสสา วินะยัง ยันตุ
วะสะโต เม สะกิจเจ นะ
อะนันตะ ชินะเต ชะสา
สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้า ไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อมแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น เป็นสมุฏฐาน จงกำจัดให้พินาศอย่าให้เหลือ
๑๔.
ชินะ ปัญชะระ มัชฌัมหิ
สะทา ปาเลนตุมัง สัพเพ
วิหะรันตัง มะหิี ตะเล
เต มะหาปุริสา สะภา
ขอพระมหาบุรุษ ผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดี ฉะนี้แล 
๑๕.
อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ธัมมานุภาเวนะ ชิตา ริสังโฆ
สัทธัมมานุภาวะ ปาลิโต
ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะ ราโย
จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ ฯ
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญฯ






พระคาถาชินบัญชร ประกอบดนตรี แปลไทย


ชินบัญชร เพลงกาพย์ยานี


ชินบัญชร โดย ชินกร ไกรลาศ


พระคาถาชินบัญชร


MV บทเพลงพระคาถาชินบัญชร


ไม่มีความคิดเห็น: