วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การละเล่นเด็กไทย

การละเล่นเด็กไทย

เด็กๆในอดีตมีอิสระในการละเล่น สามารถสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ โดยคิดกฎกติกาได้เอง การละเล่นของเด็กไทยในอดีต ทั้งที่เล่นกลางแจ้งและในร่ม โดยส่วนใหญ่เลียนแบบจากการทำงานและอาชีพของผู้ใหญ่ หรือคิดการละเล่นใหม่ๆ เพื่อแข่งขันในหมู่เพื่อนกันเองโดยเฉพาะ
        การละเล่นของเด็กๆ หลายอย่างสามารถเสริมสร้างพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยที่เด็กรู้สึกเพลิดเพลิน สนุกสนาน ไม่เบื่อ วัสดุธรรมชาติอย่างเช่น ต้นกล้วย   หลังจากนำใบตองมาห่อของแล้ว ก้านกล้วยก็สามารถนำมาประดิษฐ์เป็น ม้าก้านกล้วย ให้เด็กๆนำมาวิ่งเล่นได้ด้วย




                                  K001- ม้าก้านกล้วย           ราคา  35.00 บาท

                                  K002- เดินกะลา                ราคา  35.00 บาท

                                  K003- กระโดดเชือกเดี่ยว     ราคา  35.00 บาท

                                  K004- ตะกร้อ                    ราคา  35.00 บาท

                                  K005- ว่าว                       ราคา  35.00 บาท

                                  K006- ตีวงล้อ                  ราคา  35.00 บาท

                                  K007- ไม้โพล๊ะ                ราคา  35.00 บาท

                                  K008- ม้าเขย่ง                ราคา  35.00 บาท

                                  K009- ลูกข่าง                   ราคา  35.00 บาท

                                  K010- ลูกดิ่ง                   ราคา  35.00 บาท

                                  K011- เสือข้ามห้วย          ราคา  55.00 บาท

                                  K012- ปิดตาควานหา    ราคา  55.00 บาท

                                  K013- ซ่อนหา(โป้งแปะ)     ราคา  55.00 บาท

                                
                                      K014- วิ่งเปี้ยว       ราคา  55.00 บาท

                                  K015- กระโดดเชือกหมู่      ราคา  90.00 บาท

                                    K016- กำทาย         ราคา  90.00 บาท

                                 
                                   K017- รีรีข้าวสาร               ราคา  90.00 บาท

                                   K018- มอญซ่อนผ้า      ราคา  100.00 บาท

                                  K019 - หมากเก็บ                ราคา  70.00 บาท

                                 
                                  K020- ปลาหมอตกกระทะ    ราคา  100.00 บาท

                                  
                                  K021- งูกินหาง                ราคา  100.00 บาท

                                  K022- จ้ำจี้                        ราคา  70.00 บาท

                                  K023- ตะลึงตึงตัง               ราคา  90.00 บาท

                                  K024- ตี่จับ                  ราคา  100.00 บาท

                                                                                     สั่งซื้อ


 การละเล่นของเด็กไทยนั้นมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ก่อนประวัติศาสตร์แล้ว กล่าวคือ เมื่อมนุษย์รู้จักเอาดินมาปั้นเป็นภาชนะ สิ่งของเครื่องใช้ในครั้งแรกแล้วจึงพัฒนามาเป็นลำดับ เด็ก ๆ เห็นใหญ่ทำก็เลียนแบบนำดินมาปั้นเล่นบาง 
             ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ก็กล่าวคือถึงคนในสมัยนั้นว่าอยู่เย็นเป็นสุข อยากเล่นก็เล่น ดังที่กล่าวไว้ว่า
“ ใครจักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน “ แต่ไม่มีรายละเอียดกล่าวไว้ว่าคนสมัยนั้นมีการละเล่นอะไรบ้าง
             ในสมัยอยุธยาได้กล่าวถึงการละเล่นบางอย่างไว้ในบทละครครั้งกรุงเก่า เรื่องนางโนห์รา ซึ่งเรื่องนี้สมเด็จกรมพระยาดดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า แต่งก่อนสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ การละเล่นที่ปรากฏในบทละครเรื่องนี้ คือ ลิงชิงหลักและการเล่นปลาลงอวน ดังบทที่ว่า 
             เมื่อนั้น โฉมนวลพระพี่ศรีจุลา บอกเจ้าโฉมตรูมโนห์รา มาเรามาเล่นกันให้สนุกจริงจริง มาเราจะวิ่งลิงชิงเสา ข้างโน้นนะเจ้าเป็นแดนพี่ข้างนี้เป็นแดนเจ้านี้ เล่นชิงเสาเหมือน ถ้าใครวิ่งเร็วไปข้างหน้า ถ้าใครวิ่งช้าไปข้างหลังนั้น เอาบัวเป็นเสาเข้าชิงกัน ขยิกไล่ผายผันกันไปมา.. 
             เมื่อนั้น โฉมนวลพระศรีจุลา บอกเจ้าโฉมตรูมโนห์รา มาเราจะเล่นปลาลงอวน บัวผุดสุดท้องน้องเป็นปลา ลอยล่องท่องมาเจ้าหน้านวลจะขึงมือกันไว้เป็นสายอวน ดักท่าหน้านวลเจ้าล่องมา ออกหน้าที่ใครจับตัวได้คุมตัวเอาไว้ว่าได้ปลา 
             เมื่อนั้น เอวรรณขวัญข้าวมโนห์รา เป็นปลาตะเพียนทองล่องน้ำมา คือ ดังพระยาราชหงส์ทอง ล่องเข้าในอวนโห่ร้อง มีในสระพระคงคา “ วรรณคดีในสมัยรัตนโกสินทร์ก็ปรากฏชื่อละเล่นหลายอย่างเช่นตะกร้อ จ้องเต ขี่ม้าส่งเมือง เป็นต้น ดังที่กล่าวไว้ในอิเหนา 
             “ บ้างตั้งวงเตะตะกร้อเล่น               เพลาเย็นแดดร่มลมสงัด
          ปะเตะโต้คู่กันสัดทัด                             บ้างถนัดเข้าเตะเป็นน่าดู
ที่หนุ่มหนุ่มคะนองเล่นตองเต                 สรวลเสเฮฮาขึ้นขี่คู่
                บ้างรำอย่างชวามลายู                           เป็นเหล่าเหล่าเล่นอยู่บนคิรี…”

                                                        ในเรื่องขุนช้างขุนแผนก็กล่าวถึงการละเล่นบางอย่างไว้ เช่น ไม้หึ่ง 
“ เมื่อกลางวันยังเห็นเล่นไม้หึ่ง                 กับอ้ายอึ่งอีดูกลูกอีปิ
แล้วว่าเจ้าเล่าก็ช่างนั่งมึนมิ                           ว่าแล้วซิอย่าให้ลงไปดิน “

             พระยาอนุมานราชธน ได้กล่าวถึง การละเล่นของเด็กไทยสมัยท่านไว้ใน “ ฟื้นความหลัง “ ว่า 
             “ การละเล่นของเด็กปูนนี้ไม่ใช่มีปืน มีรถยนต์เล็กๆ อย่างที่เด็กเล่นกันเกร่ออยู่ในเวลานี้ ลูกหนัง สำหรับเล่น แม้ว่ามีแล้วราคาแพง และยังไม่แพร่หลาย ตุ๊กตาที่มีดื่น คือ ตุ๊ตาล้มลุก และตุ๊กตาพราหมณ์ นั่งท้าวแขน สำหรับเด็กผู้หญิงเล่น ตุ๊กตาเหล่านี้เด็กๆ ชาวบ้านไม่มีเล่น เพราะต้องซื้อ จะมีแต่ผู้ใหญ่ทำ ให้หรือไม่ก็เด็กทำกันเองตามแบบอย่างที่สืบต่อจำมาตั้งแต่ไหนก็ไม่ทราบ เช่น ม้าก้านกล้วย ตะกร้อสาน ด้วยทางมะพร้าวสำหรับโยนเตะเล่น หรือตุ๊กตาวัว ควาย ปั้นด้วยดินเหนียว 
             ของเด็กเล่นที่สมัยนั้นนิยมเล่นกันคือ “ กลองหม้อตาล “ ในสมัยนั้นขายน้ำตาล เมื่อใช้หมดแล้ว เด็กๆ ก็นำมาทำเป็นกลอง มีวิธีทำคือ ใช้ผ้าขี้ริ้วหุ้มปากหม้อเอาเชือกผูกรัดคอหม้อให้แน่นแล้วเอาดิน เหนียวเหลวๆ ละเลงทาให้ทั่ว หาไม้เล็กๆ มาตีผ้าที่ขึงข้างๆ หม้อโดยรอบ เพื่อขันเร่งให้ผ้าตึงก็เป็นอันเสร็จ ตีได้ มีเสียงดัง กลองหม้อตาลของใครตีดังกว่ากันเป็นเก่ง ถ้าตีกระหน่ำจนผ้าขาดก็ทำใหม่ 
             เด็กผู้หญิงส่วนใหญ่ชอบเล่น “ หม้อข้าวหม้อแกง “ หรือเล่นขายของหุงต้มแกงไปตามเรื่อง เอา เปลือกส้มโอ เปลือกมังคุด หรือใบก้นบิด ผสมด้วยปูนแดงเล็กน้อยคั้นเอาน้ำข้นๆ รองภาชนะอะไรไว้ไม่ช้า จะแข็งตัวเอามาทำเป็นวุ้น “ 
             คนไทยในอดีตมองการละเล่นของเด็กไปในแง่ของจิตวิทยา โดยตีความหมายของการแสดงออก ของเด็กไปในเชิงทำนายอนาคตหรือบุพนิมิตต่างๆ ความเชื่อเช่นนี้ปรากฏในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง เช่น ขุนช้างขุนแผน 
        “ สวดมนต์ฉันเสร็จสำเร็จแล้ว           ฝ่ายข้างพลายแก้วอุตริว่า
เราเล่นเป็นผัวเมียกันเถิดเรา                  ขุนช้างร้องว่าข้าชอบใจ
   นางพิมว่าไปอ้ายนอกคอก                     รูปชั่วหัวถลอกกูหาเล่นไม่
     พลายแก้วว่าเล่นเถิดเป็นไร                    ให้ขุนช้างนั้นไซร้เป็นผัวนาง
    ตัวข้าจะย่องเข้าไปหา                          จะไปลักเจ้ามาเสียจากข้าง
         ทั้งสองคนรบเร้าเฝ้าชวนนาง                 จึงหักใบไม้วางต่างเตียงหมอน
         นางฉลาดกวาดทรายกลายเป็นเรือน       พูนขึ้นกล่นเกลื่อนดังฟูกหมอน
             นางพิมนอนพลางกลางดินดอน              เจ้าขุนช้างหัวกล้อนเข้านอนเคียง
   พลายแก้วโดดแหวกเข้าแทรกกลาง         ซุกหัวขุนช้างที่กลางเกลี้ยง
               ขุนช้างทำหลับอยู่ข้างเตียง                     ฝ่ายนางพิมนอนเคียงเข้าเมียงมอง
ขุนช้างวางร้องก้องกู่โว้ย                         ขโมยลักเมียกูจู่จากห้อง
     ลุกขึ้นงุนง่านเที่ยวซานร้อง                      เรียกหาพวกพ้องให้ติดตาม
…………………………. ………………………….. 
            ท่านผู้ฟังทั้งสิ้นอย่ากินแหนง                 จะประดิษฐ์คิดแต่งก็หาไม่
       เด็กอุตริเล่นหากเป็นไป                               เทวทูตดลใจให้ประจักษ์ตา
    เด็กเล่นสิ่งไรก็ไม่ผิด                                    ทุจริตก็เป็นเหมือนปากว่า
   อันคดีมีแต่โบราณมา                                 ตำรานี้มีอยู่ในสุพรรณฯ “
             การละเล่นของเด็กไทยในปัจจุบัน เด็กผู้หญิงเล่นตุ๊กตากระดาษชุดขายของพลาสติกเลียนแบบของจริง วิดีโอเกม เด็กผู้ชายก็เล่นปืน จรวด เกมกด และเครื่องเล่นต่างๆ ซึ่งมีขายมากมาย และมีการละเล่นหลาย ชนิดที่นิยมเล่นทั้งในเด็กชายและเด็กหญิง นอกจากนั้นยังเล่นตามฐานะและเศรษฐกิจของครอบครัว ดังนั้นการละเล่นของเด็กไทยสมัยก่อนจึงค่อยๆ เลื่อนหายไปทีละน้อยๆ จนเกือบจะสูญหายไปหมดแล้ว เช่น กาฟักไข่ เขย่งเก็งกอย ตั้งเต ตี่ ขี่ม้าส่งเมืองขี้ตู่กลางนา เตย งูกินหาง ช่วงชัย ชักเย่อ ซ่อนหา มอญซ่อนผ้า ไอ้โม่ง รีรีข้าวสาร ฯลฯ      ที่มา : http://student.swu.ac.th/









     
  


 

ไม่มีความคิดเห็น: