วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เตรียมตัวก่อนบริจาคโลหิต

เพื่อที่ผู้บริจาค จะไม่ต้องเสียเวลาโดยไม่จำเป็น ในการรอบริจาค ผู้บริจาคควรสำรวจตนเองว่า มีคุณสมบัติเพียบพร้อมสำหรับการบริจาคหรือไม่ ซึ่งผู้บริจาค ควรมีคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้
  1. เป็นผู้มีอายุระหว่าง 17 - 60 ปี
  2. มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง น้ำหนักตั้งแต่ 45 กิโลกรัมขึ้นไป
  3. ไม่มีประวัติการเป็นโรคมาลาเรีย ในระยะ 3 ปี
  4. ไม่มีประวัติเป็นโรคตับอักเสบ หรือดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง
  5. ผู้หญิง ไม่อยู่ในระยะประจำเดือน หรือ มีครรภ์
  6. ไม่ควรบริจาคหลังทำการผ่าตัด ในระยะ 6 เดือน
  7. ผู้เคยรับโลหิตงดบริจาค 1 ปี
  8. งดสูบบุหรี่ก่อนบริจาค 12 ชั่วโมง
  9. ไม่ทานยาแก้อักเสบก่อนบริจาค 1 สัปดาห์
  10. ไม่ได้รับเลือดจากผู้อื่นมาระยะ 6 เดือน
  11. ไม่ได้รับวัคซีนภายใน 14 วัน เซรุ่มภายใน 1 ปี
  12. ไม่ได้มีสัมพันธ์กับบุคคลอื่นที่มิใช่คู่สมรส
  13. มีการนอนหลับสนิท ไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง
  14. ไม่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อการบริจาคโลหิต เช่น กามโรค โรคติดเชื้อต่าง ๆ ไอเรื้อรัง ไอมีโลหิต โลหิตออกง่ายผิดปกติ หยุดยาก โรคเลือดชนิดต่าง ๆ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคลมชัก โรคผิวหนังเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ มะเร็ง หรือโรคอื่นๆ
  15. ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ หรือสำส่อนทางเพศ ได้แก่ ท่านหรือคู่สมรสของท่าน เคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงหรือชาย ที่ขายบริการทางเพศ หรือ มีเพศสัมพันธ์แบบชายรักชาย
  16. ไม่ทำการเจาะหู สัก ลบรอยสัก ฝังเข็มในช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมา
  17. ไม่มีประวัติติดยาเสพติด หรือเคยเป็นผู้ที่เสพยาเสพติดโดยใช้เข็มฉีดยา
  18. ไม่เป็นผู้ติดเชื้อเอดส์
  19. สตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน ตั้งครรภ์หรือ ให้นมบุตร และไม่มีการคลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา
  20. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนบริจาค
  21. รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และยาธาตุเหล็กเพิ่ม

[แก้]การบริจาค

เมื่อถึงหน่วยบริจาครับบริจาคโลหิต จะมีผู้เชี่ยวชาญหรือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน นำใบกรอกเพื่อเขียนประวัติของผู้บริจาคและเซ็นชื่อยินยอม และยอมรับว่าข้อมูลทั้งหมดเป็นความจริง
เมื่อกรอกเรียบร้อยจะถึงขั้นตอนการวัดความดัน และตรวจโลหิตขั้นต้น เพื่อคัดกรองโลหิตในขั้นต้น และเพื่อความปลอดภัยของผู้บริจาคเอง
หลังจากนั้นผู้บริจาคจะถูกพามานอนบนเตียงบริจาคเพื่อเจาะเข็มเข้าเส้นเลือด เพื่อนำโลหิตใส่ยังถุงโลหิต เป็นจำนวน 350 - 450 มิลลิลิตร เจ้าหน้าที่นำเข็มเจาะออก ควรนอนพักเพื่อปรับสภาพสักครู่
เมื่อลุกออกจากเตียง ควรรับอาหารว่าง ที่ทางหน่วยบริการจัดเตรียมไว้ ซึ่งหลักๆ ได้แก่ น้ำหวาน (น้ำแดง) และ ขนมที่ทำมีธาตุเหล็ก พร้อมทั้งรับ ธาตุเหล็กกลับไปรับประทาน

[แก้]การปฏิบัติตัวหลังการบริจาค

หลังจากการบริจาคโลหิตแล้ว ผู้บริจาคควรปฏิบัติตนหลังการบริจากตามคำแนะนำ เพื่อประโยชน์ของผู้บริจาคเอง ดังนี้
  • ดื่มน้ำมากกว่าปกติหลังบริจาคเป็นเวลา 2 วัน
  • งดออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อหลังการบริจาค หลีกเลี่ยงการทำซาวน่า
  • ผู้บริจาคโลหิตที่ทำงานใช้แรง หรือใช้กำลังมาก ควรหยุดพักหนึ่งวัน
  • รับประทานยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละ 1 เม็ด เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก
  • หลีกเลี่ยงการใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ เป็นเวลา 12 ชั่วโมง

[แก้]ประโยชน์ของการบริจาคโลหิต

  1. ได้รับความภาคภูมิใจ ในการบริจาค
  2. ได้รับทราบหมู่โลหิตของตนเองในระบบ ABO และ ระบบ RH
  3. เสมือนได้รับการตรวจสุขภาพร่างกาย เนื่องจาก โลหิตที่ได้รับบริจาค ต้องผ่านกระบวนการในห้องปฏิบัติการ หากเป็นโรคร้ายแรง ทางสภากาชาดจะส่งเอกสารข้อมูลไปยังที่อยู่ที่ลงทะเบียนไว้
  4. ช่วยชีวิตผู้อื่นที่ต้องการเลือด เป็นการใช้ชีวิตต่อชีวิต

[แก้]ดูเพิ่ม

Commons
  • สภากาชาดไทย
  • สถานที่รับบริจาคโลหิต

    • ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย 

    • ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ 
    Email : webmaster
    @blooddonationthai.com
    โทรศัพท์ : 0-2263-9600-99 ต่อ 1752,1753
    โทรสาร : 0-255-4567
    เปิดรับบริจาคโลหิตทุกวัน ยกเว้นวันที่ 1 มกราคม ของทุกปีปิดทำการ
    วันจันทร์,พุธ,ศุกร์ 08.00-16.30 น.
    วันอังคาร,พฤหัสบดี 07.30-19.30 น.
    วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ 08.30-15.30 น.

    • หน่วยเคลื่อนที่ประจำ 
    - สวนจตุจักร
    - สนามหลวง
    - มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก
    - สถานีกาชาด 11 “วิเศษนิยม” บางแค
    - ห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต
    - ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์
    - ห้างสรรพสินค้า Big C สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์
    - เดอะมอลล์ บางแค ทุกวัน (ชั้น P บริเวณศูนย์พระเครื่อง) เวลา 12.00-18.00 น.

    • สาขาบริการโลหิต
    - โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า โทร.0 2468 1116-20
    - สถาบันพยาธิกรมแพทย์ทหารบก ร.พ.พระมงกุฎเกล้า โทร.0 2354 7000, 0 2354 7572
    - โรงพยาบาลตำรวจ โทร. 0 2252 8111 ต่อ 4146
    - โรงพยาบาลรามาธิบดี โทร. 0 2354 7182
    - โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช โทร. 0 2534 7651
    - วิทยาลัยแพทยศาสตร์ กรุงเทพมหานคร และวชิรพยาบาล โทร. 0 2244 3126-8

    • สาขาบริการโลหิต โรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น: